top of page

คำสงวนสิทธิ์ ของฝ่ายไทย

ความจริงแผ่นดินเขาพระวิหาร

การสงวนสิทธิ์เหนือเขาพระวิหาร ของ พ.อ. ถนัด คอร์มันต์ ในการเรียกคืนเขาพระวิหารในอนาคต และคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลก ในปี 2505

แต่กระทรวงการต่างประเทศของไทย ในปัจจุบัน กลับยอมรับคำตัดสินของศาลโลก เสียเอง ดูเอกสารได้ที่นี่ http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=130&Itemid=148ทั้งๆที่เอกศาลที่เขมรยื่นต่อศาลโลกคือแผนที่ปลอม 1:200,000ทีเลวร้ายกว่านั้นคือทักษิณไปทำ MOU 44 ที่เอื้อประโยชน์ให้เขมรในเรื่องบ่อปิโตรเลียมในอ่าวไทย

คนโคราชไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก
By ประชาชนทนไม่ไหว โคราช
แนวร่วมพี่น้องประชาชนชาวโคราช คนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน และกลุ่มพลังธรรมมาธิปไตย
ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ในกรณีเขาพระวิหาร
ตั้งขบวนกันที่ ซุ้มประตูพลล้าน เคลื่อนขบวน เวลา 07.00 น. มายังอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารี
เพื่อบวงสรวงวีรสตรีย่าโม เมืองหญิงกล้า และประกาศเจตนารมณ์ ไปยังรัฐบาล "ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก"


แถลงการณ์คนไทยไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก หลักฐานเด็ดจารึกทางประวัติศาตร์พระวิหารเป็นของไทย ทวงคืนพระวิหาร

แถลงการณ์ เครือข่ายภาคประชาชนไทยและชาวโคราช 6 เมษายน 2556

 

1.จุดยืนของรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เทียบกับจุดยืน รัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ 2543 จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน ต่อกรณีพิพาทไทย-กัมพูชา

1.1)
ในคืนวันที่ 4 กรกฎาคม 2505
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายยกรัฐมนตรี ขณะนั้น
ได้กล่าวคำปราศรัย ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
มีความสำคัญว่า ………………..
ตามที่ศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ ( ศาลโลก)
ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่15 มิถุนายน 2505
ให้ปราสาทพระวิหาร ตกไปเป็นของกัมพูชา………
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะตัวข้าพเจ้า
ถือว่าเรื่องนี้มี ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
และเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลได้ผลเสีย อย่างสำคัญของชาติ
เป็นเรื่องของผืนแผ่นดินไทยซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเรา
สู่อุตสาห์ ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้และตกทอดมาถึงคนรุ่นเรา
จึงสมควรที่เราทุกคนจะได้เอาใจใส่ และสนใจร่วมรู้เห็น
ก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ลงไปในผืนแผ่นดินนี้ ……​

 

ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบันรัฐบาลไทยได้เปลี่ยนจุดยืนกรณีไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นข้อแตกต่าง กันอย่างสิ้นเชิงกับรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กล่าวคือสิ่งที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดถือปฏิบัติให้ความสำคัญต่อองค์พระประมุขและประชาชน ก่อนที่จะได้ดำเนินการใดๆ ลงไปในผืนแผ่นดิน ตรงกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่บัญญัติว่า สัญญาใดๆที่เกี่ยวกับผืนแผ่นดินเป็นราชอำนาจต้องให้ประชาชนไทย ยินยอมและรัฐสภาเห็นชอบ แต่รัฐบาลกลับกระทำการในเรื่องนี้ตามอำเภอใจและโดย พละการ ตั้งแต่การทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันกับกัมพูชา( MOU 2543 ) เพื่อจะกระทำการเสมือนหนึ่งปักปันเขตแดนใหม่ โดยจะยึดถือแผนที่ฝรั่งเศสได้ จัดทำไว้เองตามมาตราส่วน1:200,000 เป็นหลัก ทั้งๆที่ในความจริงแล้วการปักปันเขตแดนระหว่างไทย(สยาม) กับกัมพูชา(ฝรั่งเศส) ได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วมานานกว่า100ปีตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 แผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำไว้เองเป็นแผนที่ ที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลง ตามสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ 2447 และปี พ.ศ 2450 เป็นแผนที่ ที่ระบุเขตแดนที่ไม่ตรงกับพื้นที่จริง ที่คณะกรรมการเขตแดนผสม ระหว่างไทย กับฝรั่งเศส ได้ตกลงกันไว้เพราะกินพื้นที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยตลอดพรมแดน คิดเป็น เนื้อที่ ประมาณ หนึ่งล้านแปดแสนไร่ จุดยืนของรัฐบาลไทยก่อนปี พ.ศ. 2543 เป็นจุดยืนที่ปฏิเสธ แผนที่ฉบับนี้

 

 1.2)
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระบุว่า…….
ชาติเราจึงจะสามารถธำรงค์เอกราชและอธิปไตยอยู่ได้
และอยู่ในฐานะที่กล่าวได้ ว่า เป็นไปด้วยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ…….

รัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน
ท่องบ่นแต่เพียงว่า เพื่อความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทยกัมพูชา  เขตแดนไม่สำคัญเพราะเราจะเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว

1.3)
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระบุว่า……….
รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของศาลโลก
ทั้งในข้อเท็จจริง ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ และในหลักความยุติธรรม
แต่เราก็ตระหนักดีว่าคำพิพากษาเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไม่ มีทางจะอุทธรณ์ได้
ยิ่งกว่านั้น กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 94 ระบุ ไว้ว่า

1. สมาชิกแต่ละประเทศขององค์กรสหประชาชาติ
รับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก)
ในคดีใดๆที่ตนตกเป็นผู้แพ้

2. ถ้าผู้แพ้ในคดีใดไม่ปฏิบัติ ตามข้อผูกพันที่เกิดแต่ตน ตามคำวินิจฉัยของศาลโลก
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติ
ซึ่งถ้าเห็นเป็นการจำเป็นก็อาจทำตามคำแนะนำหรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดำเนินการ
เพื่อให้ยังผลที่เกิดขึ้นแก่คำพิพากษาได้……….

……… ในฐานะที่ประเทศไทย เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ
ก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกฎบัตรประชาชาติ
แต่รัฐบาลขอตั้งข้อประท้วงและข้อสงวนสิทธิอันชอบธรรม
ของประเทศไทยในเรื่อง นั้นไว้
เพื่อสงวนสิทธิที่จะดำเนินการทางกฎหมายที่จำเป็น
ซึ่งอาจจะมีในภาย หน้าให้ได้กรรมสิทธิ์นี้กลับคืนมาตามโอกาสอันควร….

 จุดยืนล่าสุดของ รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  บนปราสาทเขาพระวิหารต่อ นายเตียปันรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า ไทยยืนยันจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล โลกทุกประการ

1.4)
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระบุว่า…………
รัฐบาลรู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระประมุขที่เคารพยิ่งของประชาชนชาวไทย
ที่ได้พระราชทานคติ และบรมราโชวาท แด่รัฐบาล
ด้วยความห่วงใยในสวัสดิภาพบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง……………

 

รัฐบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน มิได้แสดงออกถึงการรู้สำนึก ต่อองค์พระประมุขแต่ประการใดๆ ทั้งๆที่เรื่องสัญญาใดๆเกี่ยวกับเรื่องเขตแดน เป็นพระราชอำนาจตามมาตรา 190 ตามรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550


 

 2. ปราสาท พระวิหารเป็นของไทย
ใน ปี พ.ศ. 2442 พลตรีพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส องค์ที่11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ขณะที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์มณฑล อีสานได้เสด็จไปยังปราสาทประวิหารซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทยขึ้น อยู่กับบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ. กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899, รศ. 118)
และทรงขนานนามว่า “ปราสาทพรหมวิหาร” ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า “ปราสาทพระวิหาร”
ซึ่งพระองค์ได้จารึก รศ. และ พระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า “118 สรรพสิทธิ”


 


 

​3. เครือข่ายภาคประชาชนไทยโดยแนวร่วม คนไทยรักชาติรักษาแผ่นดิน

วัน ที่22มีนาคมที่ผ่านมาได้ยื่นคำร้องพร้อมทั้งรายชื่อคนไทยที่เห็นด้วย
จำนวน 1,452,131 คน ต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เลขาธิการสหประชาชาติ ตุลาการศาลโลก
โดยคำร้องมีข้อสรุปสำคัญว่าประเทศไทยได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก ของศาลโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505
จึงไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับคำพิพากษากับกัมพูชาที่ได้ตีความใหม่หรือ ประเทศไทยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ที่จะผูกพันโดยอำนาจจากศาลโลก   หลังจากที่ไทยได้แพ้คดีตามคำพิพากษาว่า อธิปไตยเหนือตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา  นอกจากนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าถ้าศาลโลกต้องการเปิดคดีนั้นจะต้องได้รับ อนุมัติ จากที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  จึงจะสามารถยอมรับอำนาจศาลโลกได้ (มาตรา93กฎบัตรสหประชาชาติ)
ซึ่งประเด็นนี้ไม่ปรากฏว่ามีการปฏิบัติหรืออาจไม่ได้ทำอย่างเปิดเผย  ซึ่งหมาย ความว่าศาลโลกบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาข้อพิพาท เรื่องเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับกัมพูชา

 

 4. เครือข่ายภาคประชาชนไทย ซึ่งรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 87
ได้รับรองสิทธิไว้ ประกอบด้วยกลุ่ม
- พลังธรรมาธิปไตย(กองทัพปลดแอกประชาชนเพื่อประชาธิปไตย)
- สภาเกษตรกรไทยแห่งชาติ
- สมาพันธ์เกษตรกรไทย
- แนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดิน

- ภาคีภาคประชาชนต่างๆ
ขอเรียกร้องต่อพี่น้องประชาชนไทยที่เห็นด้วยกับแนวทางไม่สุ่มเสี่ยงใดๆกับคำพิพากษาของโลก ด้วยการปฏิเสธศาลโลกอย่างสิ้นเชิง 
ขอ ให้ศาลโลกจำหน่ายคดีเสีย และ เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยให้ถอนตัวต่อศาลโลกในฐานะจำเลย โดยยื่นเรื่องอย่างเป็น ทางการต่อศาลโลกโดยเร็วที่สุด

ท่านใดที่เห็นด้วยโปรดส่งรายชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชนไปที่ สำนักงานแนวร่วมรักชาติรักษาแผ่นดิน ตู้ ปณ. 14 ป.ณ.ฝ. คลองกุ่ม กรุงเทพฯ 10244

 

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระบุว่า…

รัฐบาล ปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2543...ปัจจุบัน

มีการส่ง ข้อมูลนี้ไห้กับรัฐบาลปัจจุบันเพื่อที่จะยกเป็นข้อต่อสู้ในศาล โลก
ว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของไทยตามมรดกตกทอดจากรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
แต่ไม่มีการตอบสนองใดๆในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์

วันนี้ในอดีต เมื่อ 50 ปีที่แล้ว (6 กรกฏาคม พ.ศ. 2505) พันเอกถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของไทย ได้มีหนังสือในนามของรัฐบาลไทย ส่งไปยัง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ(นาย อู ถั่น)ในเวลานั้น เพื่อยืนยันสิทธิ์ ที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) และขอตั้งข้อสงวนสิทธิ์ ที่ไม่จำกัดระยะเวลา ตราบเท่าที่ประเทศไทยมีหรือพึ่งมีในอนาคต หรือหลักฐานใหม่ ในการเรียกคืนปราสาทพระวิหา
หลังจากจดหมายฉบับนี้ได้ส่งไปถึงองค์การสหประชาชาติและชาติสมาชิก เพื่อให้ทราบโดยทั่วกันแล้ว รวมถึงประเทศกัมพูชาด้วย ก็ไม่มีหรือไม่เคยมีใครทักทวงสิทธิืที่ประเทศไทยได้พึ่งสงวนนี้ไว้เลย

FOLLOW ME

  • Facebook Classic
  • Twitter Classic
  • c-youtube

© 2023 by SAMANTA JONES

bottom of page